เราต้องรอด! กับ 4 ช่องทางพยุงธุรกิจร้านอาหาร ฝ่าได้ทุกวิกฤต

โควิดมา 4 ระลอกติดต่อกัน ทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจนต้องรีบปรับตัวให้ไว ตามพฤติกรรมผู้บริโภคให้ทัน 1ในนั้นคือธุรกิจร้านอาหารที่ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตโควิด-19 มาอย่างยาวนาน ล้มหายเจ๊งจากไปก็เยอะ ยุบสาขาอีกนับไม่ถ้วน แต่ถ้าคุณยังเชื่อว่าทุกปัญหามีทางออก ทุกทางมืดมีแสงสว่างรออยู่ที่ปลายอุโมงค์… มาดูหนทางที่ไปแล้วมีโอกาสรอด เหมือนเกิดมาเพื่อช่วยเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจร้านอาหารโดยเฉพาะ

ช่องทางช่วยพยุงธุรกิจร้านอาหาร ฝ่าได้ทุกวิกฤต

1. บริหารจัดการต้นทุนให้ละเอียด

          เชื่อว่าหลายธุรกิจร้านอาหารไม่ใช่แค่ต้องรับมือจากโควิดเท่านั้น แต่ร้านอาหารต้องรู้จัก การบริหารและจัดการต้นทุนเช่นเดียวกัน เพราะแต่ละวันไม่มีใครรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าออเดอร์จะ เข้ามามากน้อยแค่ไหน? แล้วยอดขายที่หดตัว จะบาลานซ์กับต้นทุนที่แบกอยู่หรือเปล่า?  ไม่ว่า จะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า ค่าพนักงาน หรือแม้แต่ค่าอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ

          ยิ่งไปกว่านั้น ตัวแปรสำคัญที่ต้องเจอแน่นอนคือ “ของสด” ที่มีอายุการเก็บรักษาไม่ เหมือนกัน ดังนั้นหากคุณกำลังปวดหัวกับปัญหานี้ แนะนำให้ลองใช้วิธี ‘Build to Order’ คือการ วางแผนและคำนวณปริมาณวัตถุดิบให้เป๊ะที่สุด เพื่อให้เพียงพอต่อออเดอร์ที่เข้ามา กำหนด สเปกวัตถุดิบเอาไว้ให้ชัดเจน รวมไปถึงศึกษาวิธีการเก็บรักษาของสดแต่ละชนิดร่วมด้วย  จะได้ ช่วยคงความสดใหม่ ไม่เสี่ยงเหลือทิ้ง ทอนต้นทุนให้หายไปโดยเปล่าประโยชน์

2. Food Delivery หลากหลายช่องทาง

         ยุคนี้ร้านไหนยังไม่มีตัวช่วยอย่าง Food Delivery คงไม่ได้แล้ว ถึงจะโดนหักค่า GP (Gross Profit) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคโควิดทำให้ผู้คนเริ่มชินกับการอยู่ บ้าน สั่งอาหารผ่านมือถือมากขึ้น ทำให้ Food Delivery กลายเป็นทางรอดจำเป็นสำหรับธุรกิจร้านอาหารไปโดยปริยาย

ซึ่งถ้าคุณต้องการเพิ่มยอดขาย คุณสามารถเปิดหน้าร้านบน Food Delivery แต่ไม่จำ เป็นต้องผูกติดกับ Food Delivery เพียงเจ้าเดียว แต่เลือกเข้าไปใน Food Delivery ให้หลาก หลายช่องทาง หลายแอปพลิเคชันพร้อมๆ กันได้ เพิ่มโอกาสสร้างยอดขายให้เติบโตขึ้นจาก เดิม จัดเรียงถ่ายรูป ตกแต่งจานให้สวยงาม ร่วมกับจัดโปรโมชั่นให้เข้าตาผู้บริโภคมากที่สุด รับรองว่าวิธีนี้จะช่วยเพิ่มออเดอร์ให้ได้ไม่มากก็น้อย

ข้อควรระวัง : อย่าลืมคำนวณปริมาณวัตถุดิบ กำลังแรง กำลังคนในการทำอาหารไว้ด้วย เผื่อมีออเดอร์เข้ามาพร้อมกัน จะได้ไม่ต้องเครียดกุมขมับ เพราะทำไม่ทัน ลูกค้ารอนาน

3. ปรับรูปแบบการให้บริการ

          รูปแบบการให้บริการของร้านอาหาร มองเผินๆ อาจดูเป็นเรื่องทั่วไป แค่มีเซอร์วิสดีและ ดูแลลูกค้าทั่วถึงก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่ถ้าไม่อยากพังพินาศในทุกๆ วิกฤต ลองยกระดับการ บริการให้มากขึ้นอีกขั้น เช่น สร้างความประทับใจให้ลูกค้าใหม่ ด้วยการจัดเซตอาหารให้หลาก หลายมากขึ้น จับเมนูนี้มาคู่กับเมนูนั้น พร้อมสร้างความประทับใจให้ลูกค้าเก่าไปด้วยโปรโมชั่น พิเศษ กระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจสั่งซื้อง่ายกว่าเดิม, จัดโปรฯ สะสมแต้ม เก็บคะแนนผ่านระบบ CocktailPro สร้าง Brand Loyalty ก็ยิ่งช่วยเพิ่มยอดขายได้อย่างยั่งยืน

          โดยแต่ละวิธีที่ยกตัวอย่างมานี้ ล้วนมีส่วนช่วยให้ธุรกิจร้านอาหารของคุณ ดูมีกิมมิกเล็กๆ ช่วยเพิ่มสีสันในการสั่งอาหารให้มากขึ้น ดึงยอดขายที่กำลังเงียบเหงาให้ครึกครื้นกว่าเดิม เพราะ ลูกค้ารู้สึกถึงความคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป 

4. ดึงจุดเด่น ดัน Personal branding

          บางครั้งการที่แบรนด์ดัง ๆ มีลูกค้าประจำเพิ่มขึ้นจากเดิม แม้ในยามเผชิญกับวิกฤตอยู่ ไม่ได้เกิดจากการคงคุณภาพของอาหารและบริการไว้เท่านั้น แต่รวมไปถึงการมีจุดยืน มี เอกลักษณ์เป็นของตัวเองด้วย เพราะฉะนั้นเราอาจใช้วิธีนี้มาปรับ ให้เข้ากับร้านอาหารของตัว เอง ด้วยการสำรวจว่าจุดเด่นของธุรกิจร้านอาหารที่มีอยู่คืออะไร? แล้วนำเอาสิ่งนั้นล่ะมาขยาย  ความ สร้างตัวตนให้กับธุรกิจ จนกลายเป็น Concept ของร้าน ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ ตบซ้ายตบขวา ให้เข้ากับธุรกิจที่มีให้ได้มากที่สุด

          ตัวอย่างเช่น ร้านย่างเนย ที่มีจุดเด่นคือการย่างอาหารด้วยเนยและชีสแบบจัดเต็ม ใน ช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา ทางร้านเลือกจัดเซตชุดอาหารแบบสั่งวันนี้ แถมฟรี! เตาปิ้งย่างไฟฟ้า เรียกว่าแคมเปญเดียวแต่สร้างยอดขายได้ถล่มถลาย ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในโลกโซเชียล หรือแม้แต่ KFC Thailand ที่สร้างบุคลิกของแอดมิน ให้พูดคุยโต้ตอบกับแฟนเพจอย่างเป็นกัน เอง สร้างความสนุกสนานในสภาวะที่บ้านเมืองกำลังตึงเครียด แม้วิธีการนี้ไม่ได้สร้างยอดขาย ได้หวือหวามากนัก แต่เชื่อว่าชื่อของ KFC ได้เข้าไปอยู่ในใจของใครหลายคนแล้วแน่นอน เพราะสิ่งที่เรียกว่า Personal branding นี่ละ

 

          เรื่องของวิกฤตเป็นเรื่องที่ยากเกินจะควบคุม สิ่งที่เราควบคุมได้จึงเป็น “ต้นทุน” การ บริหารจัดการของเราเอง หากเคยทำแต่วิธีการเดิมๆ แล้วไม่ได้ผล ลองเดินตามทำ 4 ช่องทาง นี้อย่างต่อเนื่องดูก่อน โดยสามารถนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้กับธุรกิจร้านอาหารของคุณเอง และ อย่าลืมมองหาผู้ช่วยมือโปรฯ ที่ออกแบบระบบมาเพื่อสร้าง Brand Loyalty โดยเฉพาะ เพราะถ้า คุณอยากยืนหยัดยืนอยู่ในตลาดนี้ สู้รบปรบมือกับร้านอาหารอื่นๆ ได้แบบกำไรยังเหลือๆ ยิ่งขยับ ปรับตัวได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี ก่อนที่โควิดจะซัดธุรกิจร้านอาหารของคุณให้หายไปในพริบตาเดียว!

สนใจสร้าง Brand Loyalty ดึงยอดขายจากลูกค้าเก่า
ดึงเม็ดเงินจากลูกค้าใหม่ได้ชิลๆ